สารานุกรม(RSS)

แท็กของ 'บาร์โค้ด'

เครื่องพิมพ์ลาเบล มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร?
ความคิดเห็น (0) เครื่องพิมพ์ลาเบล มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร?

บาร์โค้ด คืออะไร 

  • บาร์โค้ด (Barcode) เป็นรหัสแท่งประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง (มักเป็นสีขาว) วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่าย ขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็ว และช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้น สำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม และสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ด เรียก ว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 1987 โดยหลักการแล้ว บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงาน รวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันระบบบาร์โค้ดเข้าไปมีบทบาทในทุกส่วนของ อุตสาหกรรม การค้าขาย และการบริการ

 

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

  • เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด Barcode Printer หรือ Printer Barcode (ภาษาไทย : เครื่องพิมพ์ บาร์โค้ด) คืออะไร โดยส่วนใหญ่หน่วยงานต่างๆ จะใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเพื่อพิมพ์บาร์โค้ดใส่สติ๊กเกอร์เพื่อทำรหัส เพื่อความสะดวกต่อการเก็บข้อมูล Barcode Printer เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (หรือ Barcode Printer เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด) เป็นอุปกรณ์ที่ต้องต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์สำหรับการพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด (Sticker Barcode) ป้ายชื่อหรือแท็กที่สามารถใช้ติดกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าต่างๆ สินค้าอุปโภค สินค้าบริโภค เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่ใช้ทั่วไปจะพิมพ์กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด หรือป้ายสติ๊กเกอร์ (แท็ก) หรือ พิมพ์ที่กล่องก่อนที่ทำการจัดส่งสินค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่สำหรับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดในการพิมพ์ จะแบ่งเป็น 2 ระบบ มีทั้งระบบ Thermal Transfer และ ระบบ Direct Thermal ดังต่อไปนี้ ระบบ Thermal Transfer ซึ่งเป็นระบบที่ต้องใช้ริบบอนบาร์โค้ดในการพิมพ์ คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่า ริบบอนคืออะไร ริบบอน คือ หมึกที่เอาไว้ใช้ในการพิมพ์บาร์โค้ดโดยจะผ่านระบบความร้อนของหัวพิมพ์ ซึ่งมีความละเอียดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

 

ระบบของการพิมพ์ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

เครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์บาร์โค้ด ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่างๆ ที่ทำขึ้นมาสำหรับใช้งานกับตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทั่วไป จะมีความละเอียดของหัวพิมพ์น้อยกว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือมีความละเอียดของหัวพิมพ์ อยู่ระหว่าง 200 - 600 Dpi และพิมพ์ได้เพียง 1 สีเท่านั้น (Monotone) แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ Thermal Transfer และ Direct Thermal

  • ระบบพิมพ์ผ่านผ้าหมึก (Thermal Transfer) คือ ระบบการพิมพ์ที่ต้องอาศัยผ้าหมึกในการพิมพ์ โดยตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์ เพื่อละลายหมึกบนผ้าหมึกให้ติดสื่อที่ต้องการ ซึ่งผ้าหมึก ที่เราใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เรียกว่า ริบบอน (Ribbon)
  • ระบบพิมพ์โดยตรง (Direct Thermal) คือ ระบบการพิมพ์โดยไม่ต้องใช้ริบบอน โดยตัวเครื่อง จะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์และสัมผัสกับตัวสื่อโดยตรง ระบบการพิมพ์โดยตรง จะมีอายุการเก็บรักษาไว้ไม่ได้นาน และไม่ทนต่อรอยขีดข่วน

ประเภทของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

 

Desktop Printer Mid-Rang Printer Industrial Printer

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดเล็ก

พิมพ์ไม่เกิน 1,000 ดวง/วัน

ความละเอียด 203 - 300 dpi

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดกลาง

พิมพ์ไม่เกิน 3,000 ดวง/วัน

ความละเอียด 203, 300, 400, 600 dpi

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดใหญ่

พิมพ์ 4,000 - 10,000 ดวง/วัน

ความละเอียด 203, 300, 400, 600 dpi

รองรับหน้ากว้างสูงสุด 8 นิ้ว


สติ๊กเกอร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (Media Type)

  1. Continue คือสติ๊กเกอร์ที่เป็นลักษณะต่อเนื่อง
  2. GAP/NOTCH คือสติ๊กเกอร์ที่ถูกตัดออก เป็นดวงๆ หรือเป็นลักษณะเป็นรู เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูงของ สื่อแต่ละดวงได้
  3. Black Mark คือสติ๊กเกอร์ที่ทำเครื่องหมายสีดำ ไว้ด้านหลัง เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูง ของสื่อแต่ละดวงได้

 

ริบบอนที่นำมาใช้ในการพิมพ์บาร์โค้ด

แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 ลักษณะขึ้นอยู่กับความทนทานและวัตถูประสงค์ในการใช้งานของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย

    1. Super Resin หรือ Ribbon Resin: หากผู้ใช้งานเลือกริบบอนกลุ่มนี้ จะไม่สามารถลอกหรือขูดบาร์โค้ดออกได้เลย เพราะมีความคงทนต่อการขีดข่วนมากที่สุด
    2. Ribbon wax resin: มีคุณสมบัติในการทนทานต่อการขีดข่วนได้ดี เหมาะกับงานพิมพ์บนกระดาษผิวมัน หรืองานที่ต้องเน้นเรื่องการยึดติดกับผิวบรรจุภัณฑ์ได้ดี เช่น งานสินค้าที่ต้องแช่แข็ง อุณหภูมิ 0 – 40 องศา
    3. Ribbon Wax : มีคุณสมบัติทนต่อการขีดข่วนได้ดีปานกลาง จึงใช้งานได้หลายรูปแบบและมักจะถูกนำไปใช้ในงานที่เน้นประหยัดต้นทุนและต้องการความรวดเร็ว

 

ความคิดเห็น (0) บาร์โค้ด (Barcode) มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร?

บาร์โค้ด (Barcode) มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร?

                 บาร์โค้ด หมายถึง เลขหมายประจำตัวสินค้าใช้แทนด้วยแท่งบาร์ขาว-ดำ เรียงเข้าด้วยกันและประกอบด้วยตัวเลข 8-13 หลัก สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ดโดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสงนิยมใชักับสินค้าอุปโภค บริโภคแทบทุกชนิดและสินค้าสำเร็จรูปต่าง ๆ


          การออกเลขหมายให้กับสินค้าแต่ละตัวจะช่วยให้การติดต่อกันระหว่างผู้ค้า (ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีก) สามารถทำงานได้ราบรื่นขึ้น เปรียบได้กับบัตรประจำตัวประชาชนที่เป็นเครื่องชี้บอกถึงความแตกต่างกัน ของแต่ละคน เลขหมายประจำตัวสินค้าก็เป็นเครื่องชี้บอกถึงความแตกต่างของสินค้าชนิดนั้น กับสินค้าอื่น ๆ

          สินค้าทุกชนิดที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ขนาด สี จำนวนบรรจุ จะมีเลขหมายประจำตัวสินค้าต่างกัน ตัวอย่างเช่น ไอศครีมรสวนิลาจะมีเลขหมายประจำตัวคนละเลขหมายต่างจาก ไอศครีมรสช็อคโกแลต หรือในกรณีกล่องใหญ่ที่บรรจุถ้วย 12 ใบ จะมีเลขหมายประจำตัวแตกต่างจากถ้วย 1 ใบ

บาร์โค้ดช่วยอะไรได้บ้าง

          การนำบาร์โค้ดมาใช้ในธุรกิจการค้าจะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ

  • ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อ-ขาย สินค้าจะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงินการออกใบเสร็จการตัดสินค้าคงคลัง
  • ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลังคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด
  • ยกระดับมาตรฐานสินค้า การระบุแหล่งผลิตของประเทศแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพเพื่อรักษาภาพพจน์ของสินค้าและสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องสัญลักษณ์ รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า
  • สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ รหัสแท่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่มีคุณภาพดีเชื่อถือได้ การมีรหัสประจำตัวของแต่ละประเทศทำให้ผู้ที่สนใจซื้อสินค้าสามารถทราบถึงแหล่งผลิตและติดต่อซื้อ-ขายกันได้สะดวกโดยตรง เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก
  • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร ข้อมูลจากระบบรหัสแท่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตัดสินใจวางแผน และบริหารงานด้านการผลิต การจัดซื้อ และการตลาดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ


ใช้กับธุรกิจใดบ้าง

  • ด้านผู้ผลิต เลขหมายประจำตัวสินค้าก่อให้เกิดวิวัฒนาการด้านบรรจุภัณฑ์ ตามหลักการ "หีบห่อก่อผลกำไรงาม" เลขหมายประจำตัวของผู้ผลิตแต่ละรายจะมีส่วนช่วยบ่งบอกถึงคุณภาพของสินค้า และแหล่งติดต่อของผู้ผลิต โอกาสทางการตลาดของผู้ผลิตจึงเปิดกว้างไปอีกมาก
  •  สำหรับผู้ค้าส่งหรือผู้นำเข้าในต่างประเทศ มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต หรือแหล่งผลิตที่จะสามารถจัดหาสินค้าได้สะดวกและกว้างขวางออกไป ตลอดจนมีโอกาสซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ด้านระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงาน โดยเฉพาะข้อมูลด้านการขายและสินค้าคงคลัง
  • ระบบการค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าปลีกขนาดใหญ่ แบบ Supermarket หรือ Mass market ระบบเลขหมายประจำตัวสินค้าและสัญลักษณ์รหัสแท่ง จะช่วยให้การคิดเงินและการเก็บเงินของพนักงานถูกต้อง และรวดเร็วมาก จึงสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังไม่ต้องติดป้ายบอกราคาสินค้าซึ่งมีเป็นจำนวนมากบนสินค้าแต่ละชิ้น ทำให้ลดปริมาณงานลงและสะดวกต่อการปรับราคาขาย

สะดวก & แม่นยำ

          ลักษณะการทำงานบาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ดบันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ โดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสง ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
          เครื่องสแกนเนอร์มีชนิดต่าง ๆ กัน ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่ออ่านบาร์โค้ดที่ได้รับการพิมพ์อย่างถูกต้องเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์กลาง เพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกครั้งที่มีการซื้อเข้าและการขายออกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

 

 

ขอขอบคุณบทความดีๆจากเว็บไซต์ : สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

บาร์โค้ดกับคิวอาร์โค้ด ต่างกันอย่างไร
ความคิดเห็น (0) บาร์โค้ดกับคิวอาร์โค้ด ต่างกันอย่างไร

  ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีบาร์โค้ดนั้นเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ ด้านมากมาย เช่น การค้า โดยการนำบาร์โค้ดมาติดกับตัวสินค้าต่างๆ  เพื่อจัดเก็บชื่อ รหัส และราคาของสินค้านั้นๆ หรือการจัดการสต๊อกสินค้า ซึ่งจะช่วยในการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงเหลือได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น แลการนำบาร์โค้ดมาใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมกันนั้น บาร์โค้ดแบบ 1D ยังมีคุณสมบัติที่ยังไม่รองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้มากเท่าไรนัก ฉะนั้นจึงมีการพัฒนาบาร์โค้ดแบบ 2D ขึ้นมา

 

บาร์โค้ด 1D 

บาร์โค้ด 1D มีลักษณะเป็นแถบจะประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับเส้นสีขาว ซึ่งจะใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษรโดยจะสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 15-20 ตัวอักษร การใช้งานบาร์โค้ดจะใช้ร่วมกับฐานข้อมูลเมื่ออ่านบาร์โค้ดและถอดรหัสแล้วจึงนำรหัสที่ได้ใช้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง

บาร์โค้ด 2D หรือ QR Code

บาร์โค้ด 2D เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มเติมมาจากบาร์โค้ด 1D โดยออกแบบให้บรรจุได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน  ทำให้บรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษรหรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1D ในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า และข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นได้จากภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี เป็นต้น บาร์โค้ด 2D สามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2D มีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบ CCD หรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับของบาร์โค้ด 1D จนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ในส่วนลักษณะของบาร์โค้ด 2D มีอยู่อย่างมากมายหลากหลายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น สี่เหลี่ยม  วงกลม

 

ขอขอบคุณบทความดีๆจากเว็บไซต์ http://www.rbs.co.th/TipsBarcode/