บาร์โค้ด คืออะไร
- บาร์โค้ด (Barcode) เป็นรหัสแท่งประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง (มักเป็นสีขาว) วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่าย ขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็ว และช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้น สำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม และสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ด เรียก ว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 1987 โดยหลักการแล้ว บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงาน รวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันระบบบาร์โค้ดเข้าไปมีบทบาทในทุกส่วนของ อุตสาหกรรม การค้าขาย และการบริการ
เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
- เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด Barcode Printer หรือ Printer Barcode (ภาษาไทย : เครื่องพิมพ์ บาร์โค้ด) คืออะไร โดยส่วนใหญ่หน่วยงานต่างๆ จะใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเพื่อพิมพ์บาร์โค้ดใส่สติ๊กเกอร์เพื่อทำรหัส เพื่อความสะดวกต่อการเก็บข้อมูล Barcode Printer เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (หรือ Barcode Printer เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด) เป็นอุปกรณ์ที่ต้องต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์สำหรับการพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด (Sticker Barcode) ป้ายชื่อหรือแท็กที่สามารถใช้ติดกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าต่างๆ สินค้าอุปโภค สินค้าบริโภค เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่ใช้ทั่วไปจะพิมพ์กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด หรือป้ายสติ๊กเกอร์ (แท็ก) หรือ พิมพ์ที่กล่องก่อนที่ทำการจัดส่งสินค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่สำหรับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดในการพิมพ์ จะแบ่งเป็น 2 ระบบ มีทั้งระบบ Thermal Transfer และ ระบบ Direct Thermal ดังต่อไปนี้ ระบบ Thermal Transfer ซึ่งเป็นระบบที่ต้องใช้ริบบอนบาร์โค้ดในการพิมพ์ คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่า ริบบอนคืออะไร ริบบอน คือ หมึกที่เอาไว้ใช้ในการพิมพ์บาร์โค้ดโดยจะผ่านระบบความร้อนของหัวพิมพ์ ซึ่งมีความละเอียดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
ระบบของการพิมพ์ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
เครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์บาร์โค้ด ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่างๆ ที่ทำขึ้นมาสำหรับใช้งานกับตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทั่วไป จะมีความละเอียดของหัวพิมพ์น้อยกว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือมีความละเอียดของหัวพิมพ์ อยู่ระหว่าง 200 - 600 Dpi และพิมพ์ได้เพียง 1 สีเท่านั้น (Monotone) แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ Thermal Transfer และ Direct Thermal
- ระบบพิมพ์ผ่านผ้าหมึก (Thermal Transfer) คือ ระบบการพิมพ์ที่ต้องอาศัยผ้าหมึกในการพิมพ์ โดยตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์ เพื่อละลายหมึกบนผ้าหมึกให้ติดสื่อที่ต้องการ ซึ่งผ้าหมึก ที่เราใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เรียกว่า ริบบอน (Ribbon)
- ระบบพิมพ์โดยตรง (Direct Thermal) คือ ระบบการพิมพ์โดยไม่ต้องใช้ริบบอน โดยตัวเครื่อง จะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์และสัมผัสกับตัวสื่อโดยตรง ระบบการพิมพ์โดยตรง จะมีอายุการเก็บรักษาไว้ไม่ได้นาน และไม่ทนต่อรอยขีดข่วน
ประเภทของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
Desktop Printer | Mid-Rang Printer | Industrial Printer |
เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดเล็ก พิมพ์ไม่เกิน 1,000 ดวง/วัน ความละเอียด 203 - 300 dpi |
เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดกลาง พิมพ์ไม่เกิน 3,000 ดวง/วัน ความละเอียด 203, 300, 400, 600 dpi |
เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดใหญ่ พิมพ์ 4,000 - 10,000 ดวง/วัน ความละเอียด 203, 300, 400, 600 dpi รองรับหน้ากว้างสูงสุด 8 นิ้ว |
สติ๊กเกอร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด (Media Type)
- Continue คือสติ๊กเกอร์ที่เป็นลักษณะต่อเนื่อง
- GAP/NOTCH คือสติ๊กเกอร์ที่ถูกตัดออก เป็นดวงๆ หรือเป็นลักษณะเป็นรู เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูงของ สื่อแต่ละดวงได้
- Black Mark คือสติ๊กเกอร์ที่ทำเครื่องหมายสีดำ ไว้ด้านหลัง เพื่อให้เซ็นเซอร์จับความสูง ของสื่อแต่ละดวงได้
ริบบอนที่นำมาใช้ในการพิมพ์บาร์โค้ด
แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 ลักษณะขึ้นอยู่กับความทนทานและวัตถูประสงค์ในการใช้งานของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย
- Super Resin หรือ Ribbon Resin: หากผู้ใช้งานเลือกริบบอนกลุ่มนี้ จะไม่สามารถลอกหรือขูดบาร์โค้ดออกได้เลย เพราะมีความคงทนต่อการขีดข่วนมากที่สุด
- Ribbon wax resin: มีคุณสมบัติในการทนทานต่อการขีดข่วนได้ดี เหมาะกับงานพิมพ์บนกระดาษผิวมัน หรืองานที่ต้องเน้นเรื่องการยึดติดกับผิวบรรจุภัณฑ์ได้ดี เช่น งานสินค้าที่ต้องแช่แข็ง อุณหภูมิ 0 – 40 องศา
- Ribbon Wax : มีคุณสมบัติทนต่อการขีดข่วนได้ดีปานกลาง จึงใช้งานได้หลายรูปแบบและมักจะถูกนำไปใช้ในงานที่เน้นประหยัดต้นทุนและต้องการความรวดเร็ว