สารานุกรม(RSS)

บล็อกตั้งแต่ '2019' 'ตุลาคม'

ลักษณะของ Touch screen แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
ความคิดเห็น (0) ลักษณะของ Touch screen แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

 

ลักษณะของ Touch screen แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

 

โซลูชั่นส่วนใหญ่ที่อาศัยอินเตอร์เฟซเป็นการสัมผัสแทนการใช้ Keyboard และ Mouse นั้นจะใช้ Touch Screen เป็นอุปกรณ์สำคัญเป็นส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ส่วนของเซ็นเซอร์ที่ตรวจการสัมผัส ของแผงควบคุมที่ทำหน้าที่รับสัญญาณจากเซ็นเซอร์ มาประมวลผลเป็นพิกัดสัมผัสสุดท้ายคือส่วนของ Software, Driver ซึ่งเป็นตัวเชื่อมกับ OS ทำให้ Touch Screen เป็นเสมือนอุปกรณ์อย่าง Mouse ดังนั้น Application ต่างๆ ที่พัฒนาโดนใช้ Mouse เป็นอินเตอร์เฟส (ส่วนใหญ่) ก็สามารถนำไปใช้กับ Touch Screen ได้ทันที อย่างไรก็ตามในการเลือก Touch Screen ที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับหลายปัจจัย และปัจจัยหนึ่งที่ต้องทราบคือ เรื่อง เทคโนโลยีของ Touch Screen แบบต่างๆ พร้อมทั้งจุดแข็งและ จุดอ่อนของเทคโนโลยี 

 

 

Resistive

 

เทคโนโลยี Resistive ถือว่าเป็นแบบที่ประหยัดและเหมาะกับการใช้งานประเภทต่างๆ ได้กว้างขวาง เช่นร้านอาหาร ร้านค้าที่ใช้เครื่อง POS งานควบคุมทางด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้ในอุปกรณ์พกพา อย่าง PDA, Mobile เป็นต้น Touch Screen แบบ Resistive จะประกอบด้วยเลเยอร์ด้านบนที่ยืดหยุ่น และเลเยอร์ด้านล่างที่อยู่บนพื้นแข็งคั่นระหว่าง 2 เลเยอร์ด้วยเม็ดฉนวนซึ่งทำหน้าที่แยกไม่ให้ด้านใน ของ 2 เลเยอร์สัมผัสกันเพราะด้านในของ 2 เลเยอร์นี้จะเคลือบด้วยสารตัวนำไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติ โปร่งแสงในเวลาจะมีการปล่อยกระแสที่เลเยอร์สารตัวนำ และเมื่อคุณกดที่ Touch Screen จะทำให้วงจร 2 เลเยอร์ต่อถึงกัน จากนั้นวงจรควบคุมก็จะคำนวณค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างไปตามตำแหน่งที่สัมผัส เมื่อคำนาณค่ากระแสตามแนวตั้งและแนวนอนก็จะำได้ตำแหน่งที่สัมผัสบนหน้าจอ

จุดแข็งของ Resistive

       ราคาไม่แพง

       สามารถใช้อะไรสัมผัสก็ได้

       หาตำแหน่งที่สัมผัสได้ละเอียด

       กินไฟน้อย

 
 
 
Capacitive

เทคโนโลยี Capacitive มีคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งความทนทานความโปร่งแสงมักเป็นที่นิยมใน Application ประเุภท เกมส์ Entertrainment  ATM, Kiosk อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม และ POS โครงสร้างของ Touch Screen แบบ Capacitive นั้นประกอบด้วยแผ่นแก้วเคลือบผิวด้วย อ็อกไซด์ของโลหะแบบโปร่งแสง เมื่อถึงเวลาการใช้งานก็จะมีการป้อนแรงดันไฟฟ้าที่มุมทั้งสี่ของ Touch Screen เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ความเข้มสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งแผ่น ผู้ใช้จะต้องใช้นิ้วมือเปล่าๆ สัมผัสที่จอเพื่อดึงกระแสจากแต่ละมุมที่ให้แรงดันตกลง จากนั้นแผงวงจรควบคุมก็จะคำนวณเป็นตำแหน่งที่สัมผัสได้

จุดแข็งของ Capacitive

       มีความคมชัด

       แสงจากหน้าจอสามารถผ่านออกมาได้ ภาพจึงชัด

       หาตำแหน่งที่สัมผัสได้ละเอียด

 
 
 
 
Acousttic wave 

ด้วยความโดดเด่นในเรื่องความคมชัดสูงความแม่นยำทำให้มีการใช้งานเทคโนโลยี Acousttiv wave ใน Application Kiosk Touh Screen แบบนี้จะมีตัวส่งสัญญาน ซึ่งยึดติดไว้ที่ขอบกระจกเพื่อส่งสัญญานอุลตร้าโซนิกส์ไปทั้งสองระนาบ คลื่นเสียง นี้จะสะท้อนผ่านไปทั้งพื้นผิวของกระจกมายังเซ็นเซอร์อีกด้านหนึ่ง เมื่อมีการสัมผัส ด้วยนิ้วหรือสไตตัลที่มีปลายอ่อน จะมีการดูดซับพลังงานจากคลื่นเสียง ทำให้แผง ควบคุมสามารถวัดตำแหน่งการสัมผัสได้จาำกการเปลี่ยนแปลงขนาดของคลื่นเสียง

จุดแข็งของ Acousttic wave

       ภาพจะมีความคมชัด

       มีความทนทานมาก

       มีความแม่นยำสูง

       มีความสามารถในการตรวจจับตามแนวลึก (แกน Z) ได้ด้วย

       แผ่นแก้วด้านหน้ามีความคงทน

 
 
 
Surface-acoustic-wave (SAW)


ด้วยความโดดเด่นในเรื่องความคมชัดสูงความเม่นยำทำไห้มีการใช้งานเทคโนโลยี Acousttic wave ใน Application Kiosk Touh Screen แบบนี้จะมีตัวส่งสัญญานซึ่งยึดติดไว้ที่ขอบกระจกเพื่อส่งสัญญานอุลตร้าโซนิกส์ไปทั้งสองระนาบ คลื่นเสียงนี้จะสะท้อนผ่านไปทั้งพื้นผิวของกระจกมายังเซ็นเซอร์อีกด้านหนึ่ง เมื่อมีการสัมผัสด้วยนิ้วหรือสไตตัลที่มีปลายอ่อน จะมีการดูดซับพลังงานจากคลื่นเสียง ทำให้แผงควบคุมสามารถวัดตำแหน่งการสัมผัสได้จากการเปลี่ยนแปลงขนาดของคลื่นเสียง

ข้อดีของจอ Touch Screen แบบ Saw-acousttic-wave
• ภาพจะมีความคมชัด
• มีความทนทานมาก
• มีความแม่นยำสูง
• มีความสามารถในการตรวจจับตามแนวลึก (แกน Z)ได้ด้วย
• แผ่นแก้วด้านหน้ามีความคงทน
 
 
 
 

Infared 

Touch Screen แบบ Infared จะถูกใช้งานในจอแสดงผลขนาดใหญ่ ในสถาบันการเงินและทางการทหาร เทคโนโลยีนี้ทำงานโดยการตรวจ จับแสง ดังนั้นแทนที่จะมีแผ่นแก้วอยู่หน้าจอเหมือนกับเทคโนโลยีอื่น แต่จะทำเป็นกรอบแทน ภายในกรอบจะมีแผงของแหล่งกำเนิดแสงที่ เรียกว่า LED ที่ด้านหนึ่งพร้อมกับตัวตรวจจับแสงที่ด้านตรงข้ามกัน จึงเป็นเสมือนกริดของลำแสงทั่วจอ เมื่อมีวัตถุใดสัมผัสก็จะไปตัด ลำแสงไม่ให้ผ่านไปถึงตัวตรวจ จับแสง ทำให้แผงควบคุมสามารถ ทราบตำแหน่งพิกัดสัมผัสได้ การใช้งานส่วนใหญ่ ระบบการประชุมผ่านวิดีโอ , ศูนย์บัญชาการ, ซุ้มห้างสรรพสินค้า, สถานที่จัดงานสาธารณะ, การโฆษณาเชิงโต้ตอบ, ศูนย์รวมความบันเทิงของโรงแรม, พยากรณ์อากาศ

จุดแข็งของ Infared

       แสงผ่านได้ 100% เนื่องจากไม่มีอะไรมาบังหน้าจอ

       มีความแม่นยำสูง

 

 

 

ความแตกต่างระหว่างจอแสดงผลแบบสัมผัสเทคโนโลยีอินฟราเรดและจอสัมผัสแบบ Capacitive Touch

Infrared (IR) และ Projected Capacitive (PCAP) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันทั่วไปสองประเภท แม้ว่าคุณอาจจะไม่สามารถบอกความแตกต่างได้เมื่อใช้หน้าจอสัมผัสแบบโต้ตอบเว้นแต่คุณจะทราบว่าจะระบุว่าเป็นรูปแบบใดพวกเขามีโครงสร้างและการออกแบบแตกต่างกันมาก ด้านล่างนี้เราจะแบ่งความแตกต่างระหว่างสองข้อนี้เพื่อให้คุณเข้าใจดีว่าทำไมคุณถึงเลือกซื้อหรือให้เช่าระบบสัมผัสของคุณได้ดีกว่าที่อื่น

 

หน้าจอสัมผัสแบบ Capacitive ที่คาดการณ์ไว้

ซอฟต์แวร์หน้าจอสัมผัสของ PCAP มักใช้ในโทรศัพท์สมาร์ทและแท็บเล็ต แต่สามารถใช้กับหน้าจอขนาดใหญ่ได้มากขึ้น ทำงานผ่านการใช้ตารางที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้โดยการแตะนิ้วของคุณ เทคโนโลยีหน้าจอสัมผัสแบบ capacitive ที่คาดการณ์ไว้ไม่จำเป็นต้องมีฝาปิด พวกเขาตรวจพบเฉพาะมือหรือ styluses PCAP แสดงความถูกต้องแม่นยำมากและสามารถสัมผัสได้ถึง 60 จุด

 

หน้าจอสัมผัสแบบอินฟราเรด

เทคโนโลยี IR touch เกี่ยวข้องกับการซ้อนทับแบบฝังตัวของคานอินฟราเรดจากบนลงล่างและด้านข้างไปมารอบ ๆ ฝาปิดของอุปกรณ์ เมื่อเครื่องบินที่มองไม่เห็นจากคานที่หักด้วยวัตถุใด ๆ อุปกรณ์จะลงทะเบียนจุดสัมผัส ด้วยจุดสัมผัสที่ใช้งานได้ถึง 40 จุด จอแสดงผลแบบสัมผัสของ IR มีความแม่นยำน้อยกว่าการแสดง PCAP กล่าวได้ว่าจอภาพอินฟราเรดยังคงมีความถูกต้องเพียงพอที่จะใช้ในการตั้งค่าต่างๆได้หลากหลาย แต่เมื่อใช้กลางแจ้งในวันที่มีแสงจ้าแดดแสงแดดอาจรบกวนการรับสัมผัสของทับซ้อนกัน

 

หลักการทำงานของเทคโนโลยี IR และ PCAP

อินฟราเรด

capacitive

แผงสัมผัสแบบ capacitive ที่คาดการณ์ไว้มักใช้สำหรับหน้าจอขนาดเล็กกว่าพาเนลสัมผัสแบบสัมผัสพื้นผิว พวกเขาได้รับความสนใจอย่างมากในโทรศัพท์มือถือ iPhone, iPod Touch และ iPad ใช้วิธีนี้เพื่อให้ได้ฟังก์ชันการทำงานแบบมัลติทัชที่มีความแม่นยำสูงและมีความเร็วในการตอบสนองสูง

โครงสร้างภายในของแผงสัมผัสเหล่านี้ประกอบด้วยพื้นผิวผสมผสานชิพ IC เพื่อประมวลผลการคำนวณซึ่งเป็นชั้นของอิเล็กโทรดที่มีความโปร่งใสจำนวนมากอยู่ในรูปแบบเฉพาะ พื้นผิวถูกปกคลุมด้วยกระจกฉนวนหรือฝาครอบพลาสติก เมื่อนิ้วเข้าใกล้พื้นผิวความจุไฟฟ้าสถิตระหว่างขั้วไฟฟ้าหลายตัวจะเปลี่ยนไปพร้อม ๆ กันและตำแหน่งที่เกิดการติดต่อสามารถระบุได้อย่างแม่นยำโดยการวัดอัตราส่วนระหว่างกระแสไฟฟ้าเหล่านี้

 

 

ขอขอบคุณบทความดีๆจากเว็บไซต์ www.th.u-touchscreen.net

EPSON ColorWorks TM-C3510  เครื่องพิมพ์ฉลากสี
ความคิดเห็น (0) EPSON ColorWorks TM-C3510 เครื่องพิมพ์ฉลากสี
เครื่องพิมพ์ฉลากสี "Epson Label Printer" ในตระกูล ‘ColorWorks’ รองรับการทำงานสำหรับธุรกิจระดับ SME งานคลังสินค้า บริการเพิ่มมูลค่า ไปจนถึงอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ ด้วยคอนเซ็ปต์​ ‘Just in Time Color’ ปิดจุดอ่อนงานพิมพ์ฉลากสี ลดความซับซ้อนและเสริมความยืดหยุ่นในกระบวนการ แก้ไขปัญหาต้นทุนจม
ความแตกต่างระหว่าง VA และ watts
ความคิดเห็น (0) ความแตกต่างระหว่าง VA และ watts

การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง watts กับ VA นั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ อย่างไรก็ตามเราต้องพิจารณาก่อนในเบื้องต้นเกี่ยวกับศัพท์ในด้านพลังงานไฟฟ้า

กำลังไฟฟ้าจริง (วัดเป็นหน่วย watts) คือส่วนหนึ่งของกำลังไฟฟ้าที่ส่งผลให้เกิดการใช้ไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้นั้นมีความสัมพันธ์กับความต้านทานไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า ยกตัวอย่างการใช้ไฟฟ้าก็เช่น ไส้หลอดไฟในหลอดไฟ

กำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ หรือ Reactive power (วัดค่าเป็นหน่วย VAR หรือ voltamps reactive) เป็นส่วนหนึ่งของกระแสไฟฟ้าไหลเวียนที่เกิดจากพลังงานที่เก็บไว้ พลังงานที่เก็บไว้นั้นมีความสัมพันธ์กับการมีอยู่ของตัวเหนี่ยวนำ (inductance) และ/หรือความจุไฟฟ้า (capacitance) ในแผงวงจรไฟฟ้า ตัวอย่างของพลังงานที่เก็บไว้ ได้แก่ หลอดไฟของแฟรชที่ชาร์จถูกชาร์จในกล้องถ่ายรูป

กำลังไฟฟ้าปรากฏ หรือ Apparent power (วัดค่าเป็นหน่วย VA หรือ voltamps) เป็นค่าทางคณิตศาสตร์โดยเป็นการรวมหน่วยไฟฟ้าจริงกับไฟฟ้ารีแอคทีฟเข้าด้วยกัน

ความสัมพันธ์ทางเลขาคณิตระหว่างกำลังไฟฟ้าปรากฏ กำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟและกำลังไฟฟ้าจริงปรากฏตามภาพ Power Triangle ด้านล่างนี้:

ในทางคณิตศาสตร์นั้น กำลังไฟฟ้าจริง (watts) มีความสัมพันธ์กับกำลังไฟฟ้าปรากฏ (VA) โดยใช้สัดส่วนในทางตัวเลขซึ่งถูกอ้างถึงเป็นหน่วยที่เรียกว่า power factor (PF) ซึ่งค่าที่แสดงจะเป็นรูปแบบของเลขทศนิยมซึ่งจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1.0 เสมอ ยกตัวอย่างอุปกรณ์ไอทีชนิดใหม่ๆ เช่น คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ปกติจะมีค่า PF เท่ากับ 0.9 หรือสูงกว่า สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer หรือ PC) ค่านี้จะอยู่ระหว่าง 0.60-0.75

ด้วยการใช้สูตรการคำนวณอันใดอันหนึ่งดังต่อไปนี้ การคำนวณสามารถทำได้เพื่อพิจารณาหาค่าบางส่วนที่ขาดหายไปได้

Watts = VA x Power Factor หรือ VA = Watts ÷ Power Factor

เนื่องจากอุปกรณ์หลายประเภทถูกวัดกำลังไฟฟ้าเป็น watts การพิจารณาถึง Power Factor จึงมีความสำคัญเมื่อจำเป็นต้องกำหนดขนาดของ UPS หากคุณไม่คำนึงถึง PF คุณอาจกำหนดขนาด UPS ของคุณต่ำเกินไป ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งถูกกำหนดค่าไฟฟ้าไว้ที่ 525 watts และมี power factor เท่ากับ 0.7 ผลก็คืออุปกรณ์ดังกล่าวคือ โหลดขนาด 750 VA

750 VA = 525 Watts / 0.7 PF

การกำหนดขนาดของ UPS ให้ทำงานที่ความจุ 75% ผลที่ได้คือ UPS ขนาด 1000 VA (750 VA / 0.75 = 1000 VA)

แปลงค่า amps ให้เป็น VA

Single-phase: amps x voltage (120 โวลต์ในสหรัฐอเมริกา) 10A x 120V = 1200VA
Three phase: Amps x volts x 1.732 = VA.

 

จากรูปแก้วเบียร์ เมื่อเรารินเบียร์ใส่แก้วเราจะได้น้ำเบียร์ส่วนหนึ่ง และฟองเบียร์อีกส่วนหนึ่ง สิ่งที่เราต้องการจริงๆคือปริมาตรของน้ำเบียร์ที่เรานำมาดื่มได้จริง ส่วนฟองเบียร์นั้นเราไม่ต้องการ แต่เมื่อรินใส่แก้วแล้วก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีฟองเบียร์มาด้วย แต่เราสามารถลดปริมาณของฟองเบียร์ให้น้อยลงได้โดยการรินเบาๆ หรือตะแคงแก้ว ก็ทำให้เกิดฟองเบียร์น้อยลงและก็ทำให้เราได้ปริมาตรของน้ำเบียร์เพิ่มมากขึ้นในแก้วเดียวกัน ระบบแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ก็เช่นกันที่เราหลีกเลี่ยงกำลังไฟฟ้าแฝงไม่ได้ แต่เราทำให้มันน้อยลงได้ โดยทางเวคเตอร์หรือทางวิศวกรรมเราเรียกว่าการเพิ่มค่า Power Factor ตามรูปสามเหลี่ยม ก็คือมุมหรือองศา นั่นเอง

 

UPS มีอยู่ด้วยกันสองแบบหลักๆคือ Off-Line UPS และ On-Line UPS แบบที่เป็น Off-Line นั้นจะสำรองไฟอย่างเดียวเมื่อไฟดับ ซึ่งจะไม่ช่วยปรับสภาพไฟฟ้า เช่น ไฟตก ไฟเกิน แต่ในเมืองไทย UPS ที่มีขายเกือบทั้งหมดก็จะเป็นแบบ On-Line ซึ่งจะมีส่วนประกอบสำคัญคือ Stabilizer ที่ช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสม

กำลังของ UPS (มีหน่วยเป็น VA)

การเลือกซื้อ UPS ว่าควรจะใช้ซักกี่ VA นั้น ให้ลองประมาณว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นกินไฟฟ้าซักกี่ Watts แล้วเอาค่า Watts ที่คุณต้องใช้ไปหารด้วยค่า Power Factor จะได้เป็นค่า VA ออกมา กรณีที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป เช่น TV จะมีบอกขนาด Watts ให้คุณรู้เลย แต่ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์

สมมุติว่า คุณคิดว่าคอมพิวเตอร์ของคุณกินกำลังไฟฟ้า 250 Watts และ Power Factor ของ UPS ที่คุณกำลังเลือกใช้มีค่าเป็น 0.7 กรณีนี้ คุณเอา 250 Watts/0.7 = 357.14 VA ถ้าหากว่าคุณเลือก UPS ที่มีขนาด 400 VA ก็ยังสามารถใช้งานได้ แต่ว่าจะน่าหวาดเสียวเกินไปหน่อย คุณควรจะเผื่อไว้ซักเท่าครึ่ง อาจจะเป็น 500VA ก็ได้ หรือถ้าคุณต้องการให้มันสำรองไฟฟ้านานหน่อย ก็เลือกเป็นแบบ 600 VA ซะเลย

อย่างไรก็ตาม หากคุณเลือกใช้ UPS ที่มีกำลังมากเกินไปก็ไม่ได้ช่วยยืดอายุการใช้งานหลังไฟฟ้าดับให้มากขึ้นซักเท่าไร ขึ้นอยู่กับการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าของวงจรที่อยู่ใน UPS รุ่นนั้นๆด้วย เช่น หากคุณใช้ UPS ขนาด 500VA สามารถสำรองกระแสไฟฟ้าได้ 10 นาที แล้วคุณเปลี่ยนมาใช้ UPS ขนาด 1000VA อาจจะสำรองไฟฟ้าได้เพียง 17 นาที เท่านั้นเอง

ความจุของ UPS นั้นจะบอกเป็น VA ซึ่งทำให้เราๆท่านๆสับสนเพราะไม่สามารถคำนวนได้ว่ามันจุเท่าไหร่ แนะนำวิธีการที่จะใช้ดูความสามารถของ UPS โดยการดูที่ Power Factor ซึ่งแทบทุกยี่ห้อจะบอกไว้ เมื่อเราได้ค่า Power Factor ของ UPS ตัวนั้นแล้วให้นำมาคูณกับค่า VA จะทำให้ได้หน่วยเป็น Watt ที่ UPS ตัวนั้นๆสามารถรองรับได้

ตัวอย่างที่ 1 UPS ยี่ห้อหนึ่งขนาด 500 VA มี Power Factor 0.6
UPS ตัวนี้จะสามารถรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ 500 x 0.6 = 300 Watt

ตัวอย่างที่ 2 UPS ยี่ห้อหนึ่งขนาด 500 VA มี Power Factor 0.8
UPS ตัวนี้จะสามารถรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ 500 x 0.8 = 400 Watt

ในการเลือกที่ Watt นั้นจะทำให้เราทราบความสามารถของ UPS แต่จะต้องคำนึงถึงรายละเอียดอื่นๆด้วย เช่น ความสามารถในการปรับแรงดันไฟฟ้า ความสามารถในการสำรองไฟฟ้า ความถี่ของไฟฟ้า ฯลฯ

 

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก powerquality

Mifare card ต่างจาก Proximity Card ยังไง?
ความคิดเห็น (0) Mifare card ต่างจาก Proximity Card ยังไง?
บัตรเป็นส่วนที่สำคัญต่อการใช้งานอย่างยิ่งกับระบบควบคุมการเข้า-ออก เพื่อใช้ยืนยันการใช้สิทธิ์เข้า-ออกสถานที่ที่เฉพาะ บัตรนั้นแบ่งการใช้ตามของแต่ละประเภทและแต่ละคลื่นความถี่ ซึ่งมีคลื่นความถี่ที่หลากหลายและชนิดของบัตรก็มีหลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องอ่านบัตร และ อุปกรณ์ที่ต้องการนำไปใช้งาน