สติ๊กเกอร์แบบ Thermal Transfer คือเมื่อความร้อนจากหัวพิมพ์ถ่ายโอนไปยังริบบอน วัสดุหรือหมึกบนริบบอนจะย้ายไปติดยังสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด (Barcode label) การพิมพ์แบบโอนถ่ายความร้อนผ่านผ้าหมึกยังลดแรงเสียดทานของหัวพิมพ์กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด เนื่องจากหัวพิมพ์ไม่ต้องสัมผัสกับเนื้อสติ๊กเกอร์โดยตรงจึงช่วยยืดอายุของหัวพิมพ์ การพิมพ์แบบใช้ริบบอน ยังสามารถเลือกใช้ริบบอน และสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดหรือลาเบล (Barcode Label) ได้หลากหลายชนิดอีกด้วย
ข้อได้เปรียบ | ข้อเสียเปรียบ |
|
|
สติ๊กเกอร์แบบ Direct Thermal การพิมพ์แบบใช้ความร้อนโดยตรง คือการพิมพ์แบบหัวพิมพ์สัมผัสกับผิวหน้ากระดาษสติ๊กเกอร์โดยตรง ไม่ต้องใช้ริบบอน โดยผิวหน้าของสติ๊กเกอร์ จะเคลือบสารเคมี เมื่อโดนความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เพราะเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องใช้ริบบอน วิธีการพิมพ์แบบนี้อาจดูเหมือนจะประหยัดเพราะไม่จำเป็นต้องซื้อริบบอน แต่วิธีการแบบนี้จะส่งผลให้หัวพิมพ์เสียเร็วกว่าการพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อนผ่านริบบอน เนื่องจากหัวพิมพ์ต้องสัมผัสกับผิวเนื้อกระดาษโดยตรง ผิวเนื้อกระดาษที่หยาบจะทำให้หัวพิมพ์เสียเร็วขึ้น ข้อเสียในการพิมพ์ Direct Thermal ก็คือว่าสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองตลอดเวลาและงานพิมพ์จะจางหายไปสีเทาจางๆ ฉลากที่พิมพ์แล้วมีอายุประมาณ 6 เดือน
ข้อได้เปรียบ | ข้อเสียเปรียบ |
|
|
- สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด แบบ Direct Thermal คือ สติ๊กเกอร์ที่เคลือบสารเคมีไว้ด้านหน้า ใช้ระบบถ่ายเทความร้อนผ่านหัวพิมพ์ลงบนสติ๊กเกอร์ เป็นวัสดุจำพวกกระดาษคล้ายกับกระดาษแฟกซ์
- ลักษณะงานที่นำไปใช้ : การนำสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด แบบ Direct Thermal มาประยุกต์การใช้งาน ใช้กับงานที่ไม่ต้องการความคงทน ใช้สำหรับชิ้นงานที่มีอายุการใช้งานสั้นฯ เพราะสติ๊กเกอร์ความร้อนจะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของแสง UV และความร้อน ใช้ในงานที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าเร็ว ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้
- ผ้าหมึกที่ต้องใช้คู่กับกระดาษ : เป็นวัสดุที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการพิมพ์ จะใช้ในงานที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าเร็ว ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้