Cycle Count คืออะไร?
- การนับ stock สินค้าที่มีอยู่จริงใน Location เป็นรอบ ๆ ซึ่งการนับนั้นอาจจะทำการนับปีล่ะครั้ง หรือเดือนล่ะครั้ง แต่ระบบ Pick to Light นั้นจะมีการนับ Cycle Count ทุกวันก่อนเริ่มงาน เพราะเนื่องจากถ้า Stock ใน location ไม่เติมให้เต็ม Maximum ของ Location ก่อน อาจจะทำให้กระบวนการจัดสินค้านั้นมีปัญหา หยุดชะงักขณะทำงาน ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ จะทำให้เสียเวลาในการทำงานที่มากขึ้น และทำให้การจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้ามีความน่าเชื่อถือน้อยลง เพราะลูกค้าแต่ละรายมี Lead time ในการสั่งสินค้าต่างกัน ซึ่งหากเกิดบ่อย ๆ ครั้ง อาจจทำให้บริษัทเสียรายได้ไปกับลูกค้าบางราย
ขั้นตอนการนับ Cycle Count?
- Supervisor กำหนดข้อมูลการนับโดยการกำหนดรอบการนับให้กับทุก SKU ที่มีในระบบ หรือ Import Excel สำหรับการนับในแต่ละวัน ซึ่งถ้ามี Location หรือ SKU ใดที่ไม่มีในระบบ ระบบจะฟ้อง Error เพื่อให้ผู้ใช้ import Excel ไฟล์ใหม่อีกครั้ง
- ระบบจะเริ่มนับการ Cycle Count ตามวันที่ของ SKU ที่กำหนดไว้ในระบบ
- ผู้ใช้ Team A ทำการนับ Stock ตามไฟที่ปรากฏขึ้นในแต่ละ Zone จนกว่าจะครบทั้งหมดที่ต้องนับสินค้า
- ผู้ใช้ Team B ทำการนับ Stock ตามไฟที่ปรากฏขึ้นในแต่ละ Zone จนกว่าจะครบทั้งหมดที่ต้องนับสินค้า
- ในกรณีที่ A และ B นับตรงกันระบบจะถือว่าการนับ Cycle Count เสร็จสิ้น
- ในกรณีที่ A และ B นับไม่ตรงกัน ระบบจะทำการให้ ผู้ใช้ Team C ทำการนับ Stock ตามไฟที่ปรากฏขึ้นในแต่ละ Zone จนกว่าจะครบทั้งหมดที่ต้องนับสินค้า และจะอ้างอิงการนับครั้งสุดท้ายนี้เป็น Stock ที่มีอยู่ใน Location จริง เพื่อบันทึกข้อมูลลงในระบบ
- Supervisor จะต้องตรวจสอบผลการนับ Stock ว่ามี Location ใดบ้างที่ต้องเติม Stock ให้เต็มจำนวน Maximum
- พนักงาน Replenishment เบิกสินค้าและไปเติมสินค้าตาม Location ที่อยู่ใน Replenish Task Paper
- Supervisor ทำการ Update Stock ตาม Location ที่เติมสินค้าได้ตามจำนวยจริงที่เติม
ควรนับ Cycle Count อย่างไร?
- การนับ Stock ที่ดีนั้นควรจะมีการแบ่งนับเป็นทีม ซึ่งระบบ Pick to Light ได้แบ่งทีมการนับ Cycle Count ไว้ทั้งหมด 3 ทีม
- คือ Team A , Team B และ Team C ซึ่งพนักงานแต่ละทีมนั้นจะทำงานแยกกันโดยอิสระ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง และแม่นยำที่สุดในการนับ โดยเฉพาะสินค้าที่มีขนาดเล็ก ต้องใช้ความละเอียดอย่างมากในการนับสินค้า โดยทั่วไปถ้ามีการนับสินค้าแค่เพียงครั้งเดียว อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ หรือแม้กระทั่งการนับสองครั้งที่มีผลการนับที่แตกต่างกันก็อาจทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน คือ เราควรที่จะอ้างอิงจากการนับครั้งใดดี โดยสรุปแล้ว เราควรจะนับ Cycle Count ทั้งหมด 3 ครั้ง และถ้ารอบแรกและรอบที่สองไม่ตรงกัน เราควรจะใช้การนับครั้งสุดท้ายเป็นตัวอ้างอิง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ในการนับรอบแรกและรอบที่สองจะเป็นการนับของพนักงานทั่วไป แต่ถ้าในกรณีที่มีความแตกต่างระหว่างรอบแรกและรอบที่สอง โดยส่วนใหญ่ Supervisor จะเป็นคนนับรอบที่ 3 ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือมากที่สุดในการนับ Cycle Count
สิ่งที่ต้องใช้ในการนับ Cycle Count?
- Cycle Class (กำหนดรอบของการนับสินค้าแต่ละ SKU ) หรือ File Excel ที่ Import เข้าไปเพื่อให้ระบบนับตามวันที่ที่อยู่ใน File
- Item ที่ต้องการนับสินค้า ( ระบบจะตรวจสอบก่อนการนับสินค้า ซึ่งถ้าไม่พบในระบบ ระบบจะไม่สามารถทำการนับ Cycle Count ได้)
- Zone & Location ที่ต้องการนับสินค้า ( ระบบจะตรวจสอบก่อนการนับสินค้า ซึ่งถ้าไม่พบในระบบ ระบบจะไม่สามารถทำการนับ Cycle Count ได้)
- User ที่ต้องนับสินค้า ( เพื่อ Assign Zone & Location ที่พนักงานต้องรับผิดชอบในการนับ Cycle Count
ประโยชน์ของการนับ Cycle Count
- สามารถจัดสินค้าได้อย่างสะดวก โดยไม่มีการหยุดชะงักขณะทำงาน
- ลดเวลาในการจัดสินค้าให้น้อยลง เนื่องจากระบบมี Stock ที่แม่นยำ
- เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าในการจัดสินค้าให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
- สามารถตรวจสอบของที่มีอยู่จริงใน Location เพื่อวางแผนในการสั่งซื้อสินค้ามาเติม Stock
- สามารถวางแผนการจัดสินค้าในแต่ละวัน ได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง
- ลดเวลาและจำนวนครั้งในการเติมสินค้า ( Replenishment ) ให้น้อยลง
- สามารถลด Cost ของสินค้าที่อาจสูญหายได้
- กระตุ้นให้พนักงานมีความรับผิดชอบสินค้าใน Stock เพื่อไม่ให้เสียค่าปรับเมื่อของหาย
- ลดกระดาษที่ใช้ในการนับ Cycle Count
ขอขอบคุณบทความดีๆจาก riverplus.com