กลับไปทั้งหมด

เทคนิคการเลือกความละเอียดเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

เทคนิคการเลือกความละเอียดเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

Barcode Printer (เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด)
                เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด คือ เครื่องพิมพ์ สำหรับพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องพิมพ์ ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่างๆ ที่ทำขึ้นมาสำหรับใช้งานกับตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทั่วไป จะมีความละเอียดของหัวพิมพ์น้อยกว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือมีความละเอียดของหัวพิมพ์อยู่ระหว่าง 200 - 600 Dpi และพิมพ์ได้เพียง 1 สีเท่านั้น (Monotone) แต่เนื่องจากเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด มีความเร็วในการพิมพ์สูง และสามารถพิมพ์บาร์โค้ดออกได้อย่างชัดเจน และเหมาะสมกับการพิมพ์บาร์โค้ดสำหรับติดลงวัตถุ หรือสินค้า จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ Thermal Transfer และ Direct Thermal

  1. ระบบพิมพ์ผ่านผ้าหมึก (Thermal Transfer) คือระบบการพิมพ์ที่ต้องอาศัยผ้าหมึกในการพิมพ์ โดยตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์เพื่อละลายหมึกบนผ้าหมึกให้ติดสื่อที่ต้องการ ซึ่งผ้าหมึกที่เราใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เรียกว่า ริบบอน(Ribbon) ระบบการพิมพ์แบบผ่านริบบอนให้ความคงทน
  2. ระบบพิมพ์โดยตรง (Direct Thermal) คือระบบการพิมพ์โดยไม่ต้องใช้ริบบอน โดยตัวเครื่องจะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์และสัมผัสกับตัวสื่อโดยตรง ระบบการพิมพ์โดยตรงต้องใช้ควบคู่กับสื่อชนิดพิเศษ เป็นสื่อความร้อน คือ สื่อประเภทนี้จะเคลือบสารเคมีไว้ เมื่อสารเคมีโดนความร้อนจะปรากฏข้อมูลที่พิมพ์ขึ้นมา ซึ่งการพิมพ์ลงบนสื่อดังกล่าว จะมีอายุการเก็บรักษาไว้ไม่ได้นาน สารเคมีที่เคลือบอยู่จะสลายไปเองตามธรรมชาติ และไม่ทนต่อรอยขีดข่วน ตัวอย่างเช่น ฉลากยา ใบเสร็จค่าน้ำ - ค่าไฟ
     

มารู้จัก ริบบอน(Ribbon) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Ribbon Wax, Ribbon Wax-Resin, และ Ribbon Resin

  • Ribbon Wax คือ ผ้าหมึกคุณภาพต่ำสุด ความคงทนน้อย นำใช้สื่อทั่วไป เช่น สติ๊กเกอร์ดาษมันสติ๊กเกอร์กึ่งมันกึ่งดาษ
  • Ribbon Wax-Resin คือ ผ้าหมึกคุณภาพกลาง มีความคงทน นำไปใช้กับสื่อที่ต้องการความคงทน เช่น สติ๊กเกอร์เนื้อผสมพลาสติก ที่ใช้งานในห้องเย็น
  • Ribbon Resin คือ ผ้าหมึกคุณภาพสูง มีความทนทานสูง ทนรอยขีดข่วน ทนความร้อน นำไปใช้กับสื่อที่ต้องการความทนทานสูง เช่น สติ๊กเกอร์ติดอะไหล่ยนต์ สติ๊กเกอร์ติดแผงวงจรไฟฟ้า หรือแม้กระทั่ง สติ๊กเกอร์ติดทรัพย์สินทั่วไปที่ต้องการระยะเวลาในการใช้งานหรือการเก็บเป็นเวลานาน

ประเภทของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แบ่งออก 3 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน คือ Desktop Printer, Mid-Rang Printer, Industrial Printer

1. Desktop Printer : คือเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดเล็ก ตัวเครื่องทำมาจากพลาสติก เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพทั่วไปปริมาณการพิมพ์ ไม่ควรเกิน 1,000 ดวงต่อวัน ความละเอียดของหัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ทั่วไป 200 - 300 dpi แต่อาจจะมีบางรุ่นที่รองรับหัวพิมพ์ 600 dpi ใช้งานทั่วไปตาม ร้านค้า โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ สนามบิน

2. Mid-Rang Printer : คือเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดขนาดกลาง ตัวเครื่องเป็นโลหะ สามารถนำไปใช้งานโรงงานขนาดเล็ก ปริมาณการพิมพ์ ไม่ควรเกิน 3,000 ดวงต่อวัน ความละเอียดหัวพิมพ์ 200, 300, 400 and 600 dpi ใช้งานตามกลุ่มโรงงานขนาดเล็ก ร้านค้าขนาดกลาง 

3. Industrial Printer : คือเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ ตัวเครื่องเป็นโลหะ ใช้งานในโรงงานขนาดใหญ่ มีความทนทานสูงปริมาณการพิมพ์ 4,000 - 100,000 ดวงต่อวัน ความละเอียดหัวพิมพ์ 200, 300, 400 and 600 dpi และมีความพิเศษในส่วนหน้ากว้างการพิมพ์ รองรับหน้ากว้างในการพิมพ์สูงสุด 8 นิ้ว ซึ่งเครื่องปกติทั่วไป หน้ากว้างในการพิมพ์ไม่เกิน 4 นิ้ว ใช้งานตามกลุ่มโรงงานขนาดโรงงานผลิต

ความคิดเห็น
ความคิดเห็นของคุณ ___ปิด
*